โครงการอบรมการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training) หัวข้อ ‘การวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและการนำเสนอสินค้าออนไลน์ให้ตรงใจลูกค้า ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์’

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดโครงการอบรมการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training) เทคนิคการสร้างร้านค้าและขายสินค้าออนไลน์ให้กับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครนายก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในหัวข้อ ‘การวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและการนำเสนอสินค้าออนไลน์ให้ตรงใจลูกค้า ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์’ ในรูปแบบออน์ไลน์ Google Meet เมื่อวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นการสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะในรูปแบบการบริการวิชาการ เพื่อการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training) เทคนิคการสร้างร้านค้าและขายสินค้าออนไลน์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ ในการขายสินค้าออนไลน์ และรู้ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น โดยมี ผศ.จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ผศ.นิพัฒน์ มานะกิจภิญโญ ผศ.วัชรากรณ์ เนตรหาญ และทีมงานคณาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ร่วมกันเป็นวิทยากร

โครงการอบรมการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training) ในหัวข้อ “การพัฒนาข้อมูลสินค้า กลยุทธ์ และความแตกต่างให้กับสินค้าในการขายออนไลน์ และการทำตลาดบนสังคมออนไลน์ Social Media Maketing (SMM)”

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดโครงการอบรมการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training) เทคนิคการสร้างร้านค้าและขายสินค้าออนไลน์ให้กับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนครนายก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในหัวข้อ “การพัฒนาข้อมูลสินค้า กลยุทธ์ และความแตกต่างให้กับสินค้าในการขายออนไลน์ และการทำตลาดบนสังคมออนไลน์ Social Media Maketing (SMM)” ในรูปแบบออน์ไลน์ผ่าน Google Meet โดย ผศ.นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ยอดมีกลิ่น และทีมงานคณาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กิจกรรมดังกล่าวเป็นการนำความรู้ไปเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะในรูปแบบการบริการวิชาการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ ในการขายสินค้าออนไลน์ และรู้ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Data Visualization เพื่อการนำเสนอข้อมูลอย่างมืออาชีพ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Data Visualization เพื่อการนำเสนอข้อมูลอย่างมืออาชีพ เพื่อการสร้างทักษะใหม่ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือของ Microsoft เช่น PowerPivot และ Power BI ในการบริหารจัดการและนำเสนอข้อมูล โดยมี ผศ.อรศิริ ศิลาสัย และ ผศ.วัจนา ขาวฟ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน MS Teams ในวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ออนไลน์ผ่าน MS Teams โดยในกิจกรรมได้อบรมแนวคิดและการประยุกต์ใช้โปรแกรม พร้อมทั้งลงมือฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

Webinar ในหัวข้อ เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ แบบ Active Learning รุ่น 2

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรม Webinar ในหัวข้อ เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ แบบ Active Learning รุ่น 2 เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยสามารถบูรณาการทักษะด้านการสอนและการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติ ดร.สวงค์ บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน MS Teams โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัตต์ อินทสระ บรรยายในหัวข้อ เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบ Active Learning และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา ผิวมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริศนา มัชฌิมา และ อาจารย์ทินกร ชุณหภัทรกุล ร่วมบรรยายในหัวข้อเทคนิคการสร้างกิจกรรมออนไลน์แบบ Active Learning เมื่อวันพุธ ที่ 20 มกราคม 2464

Webinar ในหัวข้อ เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบ Active Learning รุ่นที่ 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี และคณาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดกิจกรรม Webinar เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบ Active Learning โดยได้รับเกียรติ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัตต์ อินทสระ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์แบบ Active Learning” ในประเด็น “ทำอย่างไรให้ผู้เรียนสนใจเรียน และเกิดแรงจูงใจในการเรียน” เมื่อวันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การประเมินผล ติดตามและบริหารโครงการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” ให้กับ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ร่วมเป็นวิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การประเมินผล ติดตามและบริหารโครงการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” ให้กับ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดโดย ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 5-6 มิถุนายน 2562

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom)” จังหวัดนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher โดยบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาสัมมนาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการอบรมครั้งที่ 10 ณ ตึกครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัจนา ขาวฟ้า อาจารย์อรศิริ ศิลาสัย คุณธนิตา แสงอ่วม คุณสุจีปภา ทองเนียม และคุณชัญญาภัค ตามสอน คณาจารย์จากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นวิทยากร บรรยายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom) กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยเกิดความสนุก และเพลิดเพลิน ไม่น่าเบื่อหน่าย สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสามารถพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพได้เพื่อรองรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้าสู่พลเมืองยุคดิจิทัล โดยกิจกรรมในการอบรมประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาสมอง
กิจกรรมที่ 2 การเขียนโค้ดสร้างเสียงเพลงตามจินตนาการ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สามารถออกเสียงตามทำนองเพลงและฝึกทักษะการใช้ภาษา
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม การบูรณาการทักษะดิจิทัลที่ 1 ถึง ทักษะดิจิทัลที่ 6 เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ บึงกาฬ นครราชสีมา ชัยภูมิเพชรบูรณ์ สกลนคร สระบุรี และเลย รวม 253 คน จัดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 ณ ตึกครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช สำหรับโครงการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การ พัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล และบุคลากร ทางการศึกษา ให้ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวทางของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC)และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยยึดหลักการการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถนำกระบวนการที่เกิดจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง สามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนางาน ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสื่อเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อเด็กปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom)” จังหวัดเชียงราย

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher โดยบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาสัมมนาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการอบรมครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นวิทยากร บรรยายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom) กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยเกิดความสนุก และเพลิดเพลิน ไม่น่าเบื่อหน่าย สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสามารถพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพได้เพื่อรองรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้าสู่พลเมืองยุคดิจิทัล โดยกิจกรรมในการอบรมประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาสมอง
กิจกรรมที่ 2 การเขียนโค้ดสร้างเสียงเพลงตามจินตนาการ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สามารถออกเสียงตามทำนองเพลงและฝึกทักษะการใช้ภาษา
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม การบูรณาการทักษะดิจิทัลที่ 1 ถึง ทักษะดิจิทัลที่ 6 เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และพิษณุโลก รวม 84 คน จัดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำหรับโครงการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล และบุคลากร ทางการศึกษา ให้ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวทางของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC)และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยยึดหลักการการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถนำกระบวนการที่เกิดจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง สามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนางาน ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสื่อเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อเด็กปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom)” จังหวัดสุพรรณบุรี

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher โดยบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาสัมมนาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการอบรมครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย ยอดมีกลิ่น ผู้ช่วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัชรากรณ์ เนตรหาญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูริพจน์ แก้วย่อง และอาจารย์ทินกร ชุณหภัทรกุล คณาจารย์จากกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นวิทยากร บรรยายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ ดิจิทัล คิดส์ พลิกโฉมห้องเรียน (Digital Kids for the Flipped Classroom) กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยเกิดความสนุก และเพลิดเพลิน ไม่น่าเบื่อหน่าย สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสามารถพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพได้เพื่อรองรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้าสู่พลเมืองยุคดิจิทัล โดยกิจกรรมในการอบรมประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาสมอง
กิจกรรมที่ 2 การเขียนโค้ดสร้างเสียงเพลงตามจินตนาการ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สามารถออกเสียงตามทำนองเพลงและฝึกทักษะการใช้ภาษา
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม การบูรณาการทักษะดิจิทัลที่ 1 ถึง ทักษะดิจิทัลที่ 6 เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี และกาญจนบุรี รวม 149 คน จัดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี สำหรับโครงการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การ พัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Super Teacher มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล และบุคลากร ทางการศึกษา ให้ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวทางของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยยึดหลักการการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและสามารถนำกระบวนการที่เกิดจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง สามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนางาน ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสื่อเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อเด็กปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

อีกความภูมิใจของเรา Certificate Of Training กิจกรรม Hour of Code ตลอดเดือนธันวาคม 2561

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate Of Training) จากบริษัทไมโครซอพท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ Code.org สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมการเรียนทักษะด้านโค้ดดิ้ง และวิทยาการคอมพิวเตอร์แก่นักเรียน (โครงการ Super Teacher) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต