งานประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต2023 ครั้งที่ 5

คณาจารย์ และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต2023 ครั้งที่ 5 (The 5th Suan Dusit National Academic Conference 2023) “นวัตกรรมและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล” (Innovation and Artificial Intelligence for Education in the Digital Era) ในวันศุกร์ ที่ 9 มิถุนายน 2566 ณ อาคารรักตะกนิษฐ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 6

ดร.ชวาลศักดิ์ เพชรจันทร์ฉาย อาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยากาคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด และนายปรัชญา เฉลิมมีกล นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยากาคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 6 “การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“ ในวันพุธ ที่ 28 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Lead Coach Certified: Intel AI for Youth

ขอแสดงความยินดี !!! คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผ่านการอบรม Intel: AI for Youth (Express Version) Lead Coach Workshop รุ่น 1 in Thailand เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา และได้รับ Lead Coach Certified: Intel AI for Youth ในการเป็นผู้สอนหลักสูตรของ Intel AI for Youth

โครงการ การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการศึกษา กิจกรรมที่ ๙ อบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Intel AI for Youth

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุทาวุฒิ จันทรมาลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี และผู้ช่วยศาสตราจารย์นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมเป็นวิทยากรอบรม Intel: AI for Youth (Express Version) Lead Coach Workshop รุ่น 2 ในหัวข้อ
Session 1 (Day 1)
1. Program Overview / Introduction
2. Orientation to INSPIRE
Session 2 (Day 1)
1. Orientation to ACQUIRE
2. Orientation to EXPERIENCE (1)
3. Activity: 3 Mini Games, Jupyter Notebooks
Session 3 (Day 2)
1.. Introduction to Pretrained Model
2. Introduction to OpenVINO framework
3. Orientation to EXPERIENCE (2)
4. Orientation to Empower Stage
5. Activity: OpenVINO, Jupyter Notebooks
วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 8.00 -15.00 น. และวันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 9.00 -12.00 น. น. ณ ห้อง 32-201 อาคาร 32 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

DUGA Live Conference: AI Driven Digital Transformation

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการ DUGA Live Conference: AI Driven Digital Transformation ในหัวข้อ AI Driven Digital Transformation และ ความท้าทายที่ซ่อนอยู่ใน Transformation for Digital Journey และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการ เมื่อวันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 -15.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Webinar

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล Good Paper

ขอแสดงความยินดี!!!! นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 11 (The 11th Asia Undergraduate Conference on Computing : AUC2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยการนำเสนอผลงานด้วยคลิปวิดีโอ และถามตอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom meeting จำนวน 7 บทความ ทั้งนี้มีนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการนำเสนอผลงาน จำนวน 3 บทความ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

รางวัล Good
1. ตรวจจับใบหน้ารับรู้อารมณ์แบบเรียลไทม์ กรณีศึกษา นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ โดย นางสาวดารารัตน์ จงเจริญ นางสาวนภัสสร สิทธิศรีจันทร์ นางสาวสุดารัตน์ วิทูธีรศานต์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี
2. การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ โดย นายธนธรณ์ คงเที่ยง อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปเนต หมายมั่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์นิพัฒน์ มานะกิจภิญโญ
3. เว็บไซต์การจัดการอบรมออนไลน์ โดย นายสมใจ จันทร์สน นางสาวเจนสุดา คงเจริญสุข นายธนนท์ บุญอำไพ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา ผิวมา

เสวนา หัวข้อ “AI จะช่วยสร้างกำไรในการเทรด Forex ให้คุณได้อย่างไร”

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดเสวนา หัวข้อ “AI จะช่วยสร้างกำไรในการเทรด Forex ให้คุณได้อย่างไร” โดยเป็นการพุดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการลงทุนกับ Forex ประสบการณ์การพัฒนาโครงงาน โดยนำ AI มาใช้ร่วมกับการเทรด และนำเสนอโครงงานของนายปรัชญา เฉลิมมีกล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ ดร.ชวาลศักดิ์ เพชรจันทร์ฉาย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ภายใต้โครงการยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสมัยใหม่ นำงานบริการวิชาการสู่ชุมชน สืบสานศิลปะวัฒนธรรมไทย ในรูปแบบ Hybrid ณ Poll cafe และออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ในวันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี ด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 11

อาจารย์และนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมนำเสนอผลงานด้วยคลิปวิดีโอ และถามตอบผ่านในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ในการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรี ด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 11 (The 11th Asia Undergraduate Conference on Computing : AUC2) จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานและบริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา ในการพัฒนาทักษะวิชาชีพคอมพิวเตอร์ และการนำเสนอผลงานในระดับชาติ ในระหว่างวันที่ 16 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นิทรรศการแนะแนวการศึกษาและอาชีพตลาดนัดท่องโลกการศึกษาต่อ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษาและอาชีพตลาดนัดท่องโลกการศึกษาต่อ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัชรากรณ์ เนตรหาญ และตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (รหัส 65) เข้าร่วมเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน รวมทั้งแสดงชิ้นงานของนักศึกษา เมื่อวันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรศิริ ศิลาสัย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา การเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ AI ขั้นต้นด้วยแพลตฟอร์ม CiRA CORE

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรศิริ ศิลาสัย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับเชิญเป็นวิทยากรโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา การเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ AI ขั้นต้นด้วยแพลตฟอร์ม CiRA CORE ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม