Lead Coach Certified: Intel AI for Youth

ขอแสดงความยินดี !!! คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผ่านการอบรม Intel: AI for Youth (Express Version) Lead Coach Workshop รุ่น 1 in Thailand เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา และได้รับ Lead Coach Certified: Intel AI for Youth ในการเป็นผู้สอนหลักสูตรของ Intel AI for Youth

โครงการ การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการศึกษา กิจกรรมที่ ๙ อบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Intel AI for Youth

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุทาวุฒิ จันทรมาลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี และผู้ช่วยศาสตราจารย์นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ คณาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมเป็นวิทยากรอบรม Intel: AI for Youth (Express Version) Lead Coach Workshop รุ่น 2 ในหัวข้อ
Session 1 (Day 1)
1. Program Overview / Introduction
2. Orientation to INSPIRE
Session 2 (Day 1)
1. Orientation to ACQUIRE
2. Orientation to EXPERIENCE (1)
3. Activity: 3 Mini Games, Jupyter Notebooks
Session 3 (Day 2)
1.. Introduction to Pretrained Model
2. Introduction to OpenVINO framework
3. Orientation to EXPERIENCE (2)
4. Orientation to Empower Stage
5. Activity: OpenVINO, Jupyter Notebooks
วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 8.00 -15.00 น. และวันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 9.00 -12.00 น. น. ณ ห้อง 32-201 อาคาร 32 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาทั่วไป ประจำปี 2565 เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาทั่วไป”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาทั่วไป ประจำปี 2565 เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาทั่วไป” วันที่ 25 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings

โครงงาน “SDU-ComSci TCAS64 Chatbot V1”

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บูรณาการการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 รหัส 61 วิชาระบบชาญฉลาด (Intelligence Systems) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยสร้างแชทบอท (chatbot) หรือแพลตฟอร์สำหรับการออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์บนพื้นฐานของการสนทนาภาษาธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2564 (TCAS64) ในการอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนหรือผู้สนใจที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อาทิ เช่น
1. วิทย์คอมคืออะไร เรียนจบสามารถไปทำงานอะไรได้บ้าง
2. คำสัมภาษณ์รุ่นพี่ (ศิษย์เก่า)
3. อาชีพ เงินเดือน และความก้าวหน้าในการทำงาน
4. ชีวิตในมหาวิทยาลัย (นักศึกษารุ่นปัจจุบัน)
5. ทำไมต้องเรียนที่วิทย์คอมสวนดุสิต
6. เจาะลึกหลักสูตรวิทย์คอมสวนดุสิต
7. กำหนดการและรายละเอียด TCAS ปีการศึกษา 2564
8. TCAS64 กับหลักสูตรวิทย์คอมสวนดุสิต
9. ช่องทางติดต่อ สถานที่เรียนและบุคลากรวิทย์คอมสวนดุสิต

มหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมประชุมเสวนาวิชาการ “มหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)” วันอังคารที่ 9 เมษายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ จ.กรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ

  1. เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ: การเตือนภัย การป้องกัน หลักเกณฑ์การปฏิบัติและการฟื้นฟู
  2. ความมั่นคงทางสังคม: ระบบประกันคุณภาพ การเข้าถึง โอกาสและการกระจาย

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมอบรม IC3 Digital Literacy Certification

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับบริษัท เออาร์ไอที จำกัด เข้าร่วมกิจกรรม อบรมการประเมินสมรรถนะด้านดิจิทัลภายใต้โครงการ “การประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐาน สมรรถนะ ความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ด้วยเครื่องมือมาตรฐานสากล (IC3 Digital Literacy Certification)”เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ตนเองได้รับการรับรองสมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)สนับสนุนโดย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2562 ณ ห้อง Hall 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้ารับการอบรมบริการ IT ของมหาวิทยาลัย

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 เข้ารับการต่างๆ ในระบบ Office 365 ระบบอีเมล์ของมหาวิทยาลัย บริการ Microsoft Azure Dev Tools for Teaching การดาวน์โหลดโปรแกรม Microsoft แบบถูกลิขสิทธิ์ Microsoft Imagine Academy บริการ e-Learning ในกลุ่ม Microsoft และMicrosoft Office บริการติดตั้ง Microsoft Office online แบบถูกลิขสิทธิ์ ติดตั้งผ่าน email ของมหาวิทยาลัย ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 11201 จากตัวแทนบริษัทไมโครซอฟท์ คุณเสริมพงษ์ แสงมณี และคุณอรรณพ ช่วยโต เป็นวิทยากร เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 08.30 -16.00 น. โดยมี นายวีระพันธ์ ชมภูแดง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ เป็นประธานเปิดการอบรม

Big Data Analytics : จากการสอนสู่การทำวิจัยมืออาชีพ

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดอบรมใน “โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์วิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วย Big Data Analytics : จากการสอนสู่การทำวิจัยมืออาชีพ” ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (11201) อาคาร 11 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2561 เพื่อให้อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมรับฟังและฝึกปฏิบัติ โดยมีผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.โอฬาริก สุรินต๊ะ เป็นวิทยากร
Session 1: A Visual Programming Tool for Machine Learning and Data Analytics เครื่องมือสำหรับการโปรแกรมแบบวิชวลสำหรับการเรียนรู้ของเครื่องจักรและการวิเคราะห์ข้อมูล

Session 2 : Fundamentals of Machine Learning and Analyzing Data with Python – A Practical Approach ความรู้พื้นฐานทางด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักรและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมภาษาไพธอน – ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติ

Based Learning

 

 

การพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Technology – Based Learning

คณาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ ร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
จัดกิจกรรมโครงการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ หลักสูตร “การพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Technology – Based Learning” และ หลักสูตร “Python เบื้องต้นด้วยโปรแกรม PyCharm Edu”
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Lab Computer)
24 กรกฎาคม3 สิงหาคม 2560

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน

อาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ และกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ งานเกษตรแฟร์นนทรีอิสาน ครั้งที่ 5 “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน” Innovation and Technology for Quality of life and Subtainable Society เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร